การใช้เพลง

เทคนิคการใช้เพลง
เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบ
การสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน
วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน มีหลายประการที่สำคัญ ได้แก่
1.เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
2.เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
3.เพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
4.เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

ประโยชน์ของเพลงประกอบการสอน
ในชีวิตประจำวัน เพลงช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สนุกสนาน และสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ เพลงเพื่อชีวิตหลายๆเพลงสะท้อนปัญหาของสังคมหรือให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต เพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะให้คุณค่าด้านคุณธรรม เพลงประกอบการสอนก็เช่นเดียวกัน มีประโยชน์หลายประการรายละเอียดดังนี้
เจนเซน (Jensen, 2009: 150) กล่าวถึงความสำคัญของดนตรีว่า หากครูนำมาใช้ในชั้นเรียนทำให้บรรยากาศการเรียนรู้มีมิตรภาพมากขึ้น และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน

ลักษณะของเพลงประกอบการสอน
ลักษณะของเพลงประกอบการสอนต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทเรียนหรือเกี่ยวกับการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักเรียน
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป.:2) กล่าวถึงลักษณะของเพลงที่นำมาใช้ประกอบการสอน ดังนี้
1.เป็นธรรมนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปากแล้ว
2.แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิมที่สนุกๆ
3.มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
4.เพลงส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆไม่ยาวจนเกินไป
5.เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด
6.หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง
ที่มา :  ณรงค์ กาญจนะ.2553.เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 2